Custom Search

รายการบล็อก

  • ปัจจัยที่กำหนดอุปสงค์ของสินค้า - ปัจจัยที่กำหนดอุปสงค์ของสินค้า *รายได้ของผู้บริโภค* ความสัมพันธ์ระหว่างรายได้และปริมาณการเสนอซื้อสินค้าขึ้นอยู่กับชนิดของสินค้า ในกรณีสินค้าปกติ (Normal Goo...
    3 ปีที่ผ่านมา
  • การซื้อของผู้บริโภค - พฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภค หมายถึง พฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคขึ้นสุดท้ายที่ซื้อสินค้าและบริการไปเพื่อกินเองใช้เอง หรือเพื่อกินหรือใช้ภายในครัวเรือน ผู้บ...
    3 ปีที่ผ่านมา
วันจันทร์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2556

แนวข้อสอบเจ้าพนักงานแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

1. ข้อใด  หมายถึงลูกจ้าง
ก. ครูอัตราจ้างในโรงเรียน                                            ข. อาชีพแม่บ้าน
ค.   พนักงานบริษัท                                                          ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ  ง. ถูกทุกข้อ 
ลูกจ้าง หมายถึงลูกจ้างทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นลูกจ้างทดลองงาน ลูกจ้างชั่วคราว ลูกจ้างประจำ ลูกจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาแน่นอน 
ลูกจ้างที่ทำงานไม่เต็มเวลา ลูกจ้างสัญญาพิเศษ และรวมถึงลูกจ้างซึ่งทำงานเกี่ยวกับงานบ้านด้วย
2. กฎกระทรวงได้กำหนดเวลาทำงานของลูกจ้างไม่เกินกี่ชั่วโมงต่อวัน
ก. 7  ชั่วโมง                                                                     ข.  8  ชั่วโมง
ค.   6  ชั่วโมง                                                                     ง.   9  ชั่วโมง
ตอบ  ข.  8  ชั่วโมง
3. กฎกระทรวงได้กำหนดเวลาทำงานเมื่อรวมเวลาทำงานทั้งสิ้นสัปดาห์หนึ่งต้องไม่เกินกี่ชั่วโมง
ก. 40  ชั่วโมง                                                                  ข.  42  ชั่วโมง
ค.   48  ชั่วโมง                                                                  ง.   50  ชั่วโมง
ตอบ   ค.   48  ชั่วโมง                        
4. ในกรณีงานที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพและความปลอดภัยของลูกจ้างกฎกระทรวงได้กำหนดเวลาทำงานปกติวันหนึ่งต้องไม่เกินกี่ชั่วโมง
ก. 7  ชั่วโมง                                                                     ข.  8  ชั่วโมง
ค.   6  ชั่วโมง                                                                     ง.   9  ชั่วโมง
ตอบ   ก. 7  ชั่วโมง             
5. จากข้อ  51 เมื่อรวมเวลาทำงานทั้งสิ้น  กฏกระทรวงกำหนดเวลาทำงานสัปดาห์หนึ่งไม่เกินกี่ชั่วโมง
ก. 40  ชั่วโมง                                                                  ข.  42  ชั่วโมง
ค.   48  ชั่วโมง                                                                  ง.   50  ชั่วโมง
ตอบ  ข.  42  ชั่วโมง
6. ข้อใดเป็นงานที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพและความปลอดภัยของลูกจ้าง
ก. งานเชื่อมโลหะ                                                          ข. งานที่เกี่ยวกับกัมมันตภาพรังสี
ค.   งานผลิตสารเคมีอันตราย                                         ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ  ง. ถูกทุกข้อ  
งานที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพและความปลอดภัยของลูกจ้าง ได้แก่ 
(๑) งานที่ต้องทำใต้ดิน ใต้น้ำ ในถ้ำ ในอุโมงค์ หรือในที่อับอากาศ
(๒) งานที่เกี่ยวกับกัมมันตภาพรังสี
(๓) งานเชื่อมโลหะ
(๔) งานขนส่งวัตถุอันตราย
(๕) งานผลิตสารเคมีอันตราย
(๖) งานที่ต้องทำด้วยเครื่องมือหรือเครื่องจักรซึ่งผู้ทำได้รับความสั่นสะเทือนอันอาจเป็นอันตราย
(๗)งานที่ต้องทำเกี่ยวกับความร้อนจัดหรือความเย็นจัดอันอาจเป็นอันตราย
7. กฎหมายคุ้มครองแรงงานห้ามมิให้นายจ้างจ้างเด็กอายุต่ำกว่าเท่าใดเป็นลูกจ้าง
ก. 15  ปี                                                            ข.  18  ปี
ค.   13  ปี                                                            ง.   20  ปี
ตอบ  ก. 15  ปี     
8. กฎหมายคุ้มครองแรงงานห้ามมิให้นายจ้างให้ลูกจ้างซึ่งเป็นเด็กอายุต่ำกว่ากี่ปีทำงานล่วงเวลาหรือทำงานในวันหยุด
ก. 20  ปี                                                            ข.  25  ปี
ค.   22  ปี                                                            ง.  18  ปี
ตอบ  ง.  18  ปี
1.    พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ  พ.ศ. ๒๕๕๓ ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อใด
ก.    ๖ ธันวาคม ๒๕๕๓            ค. ๓ ธันวาคม ๒๕๕๓
ข.    ๗ ธันวาคม ๒๕๕๓            ง. ๘ ธันวาคม ๒๕๕๓
ตอบ    ข.๗ ธันวาคม ๒๕๕๓
2.    พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ  พ.ศ. ๒๕๕๓  มีผลบังคับใช้เมื่อใด
ก.    ๖ ธันวาคม ๒๕๕๓            ค. ๓ ธันวาคม ๒๕๕๓
ข.    ๗ ธันวาคม ๒๕๕๓            ง. ๘ ธันวาคม ๒๕๕๓
ตอบ   ง. ๘ ธันวาคม ๒๕๕๓
3.    “ก.อ.” หมายความว่า
ก.    คณะกรรมการอัยการ            ค. คณะกรรมการข้าราชการฝ่ายอัยการ
ข.    คณะกรรมการอัยการสูงสุด        ง. คณะกรรมการฝ่ายอัยการ
ตอบ    ก.คณะกรรมการอัยการ
4.    ใครเป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
ก.    อัยการสูงสุด                ค.รองอัยการสูงสุด
ข.    ก.อ.                       ง.อธิบดีอัยการ
ตอบ   ก. อัยการสูงสุด
5.    ข้าราชการฝ่ายอัยการ แบ่งออกเป็นกี่ประเภท
ก.    2  ประเภท                ค. 4  ประเภท
ข.    3  ประเภท                ง. 5  ประเภท
ตอบ  ก. 2  ประเภท
6.    ข้อใด ไม่ใช่ ประเภทของข้าราชการฝ่ายอัยการ
ก.    ข้าราชการอัยการ                ค. ข้าราชการสารบรรณ
ข.    ข้าราชการธุรการ                ง. ไม่ใช่ทั้ง  ข้อ ข และ  ค
ตอบ  ค. ข้าราชการสารบรรณ
7.    คณะกรรมการอัยการประกอบด้วย
ก.    อัยการสูงสุด                ค. รองอัยการสูงสุด
ข.    กรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ        ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ  ง. ถูกทุกข้อ