Custom Search

รายการบล็อก

  • ปัจจัยที่กำหนดอุปสงค์ของสินค้า - ปัจจัยที่กำหนดอุปสงค์ของสินค้า *รายได้ของผู้บริโภค* ความสัมพันธ์ระหว่างรายได้และปริมาณการเสนอซื้อสินค้าขึ้นอยู่กับชนิดของสินค้า ในกรณีสินค้าปกติ (Normal Goo...
    3 ปีที่ผ่านมา
  • การซื้อของผู้บริโภค - พฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภค หมายถึง พฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคขึ้นสุดท้ายที่ซื้อสินค้าและบริการไปเพื่อกินเองใช้เอง หรือเพื่อกินหรือใช้ภายในครัวเรือน ผู้บ...
    3 ปีที่ผ่านมา
วันเสาร์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

แนวข้อสอบนักวิชาการสรรพสามิต กรมสรรพสามิต

1. พระราชบัญญัติสุรา พ..2493 ให้ไว้ ณ วันใด
ก. มีนาคม 2493                                                     ค. มีนาคม 2493
ข. มีนาคม 2493                                                     ง. มีนาคม 2493
ตอบ   ข. มีนาคม 2493
2. พระราชบัญญัติสุรา พ..2493  มีกี่มาตรา
ก. 6 หมวด  47  มาตรา                                             ค. 8  หมวด  47  มาตรา
ข. 7  หมวด  47  มาตรา                                            ง. 8  หมวด  74  มาตรา
ตอบ  ค. 8  หมวด  47  มาตรา
3. หมวดที่  2 ในพระราชบัญญัติสุรา พ..2493 ว่าด้วยเรื่องใด
ก. ภาษีสุรา
ข. การทำสุรา และการนำสุราเข้ามาในราชอาณาจักร
ค. การขายสุรา
ง. บทกำหนดโทษ
ตอบ    ก. ภาษีสุรา
4. "สุราหมายถึง
ก. วัตถุทั้งหลายหรือของผสมที่มีแอลกอฮอล์
ข. วัตถุทั้งหลายหรือของผสมที่มีแอลกอฮอล์ซึ่งสามารถดื่มกินได้เช่นเดียวกับน้ำสุรา
ค. วัตถุทั้งหลายหรือของผสมที่มีแอลกอฮอล์ซึ่งดื่มกินไม่ได้ แต่เมื่อได้ผสมกับน้ำหรือของเหลวอย่างอื่นแล้ว สามารถดื่มกินได้เช่นเดียวกับน้ำสุรา
ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ    ง. ถูกทุกข้อ
"สุราหมายความรวมถึงวัตถุทั้งหลายหรือของผสมที่มีแอลกอฮอล์ซึ่งสามารถดื่มกินได้เช่นเดียวกับน้ำสุราหรือซึ่งดื่มกินไม่ได้ แต่เมื่อได้ผสมกับน้ำหรือของเหลวอย่างอื่นแล้ว สามารถดื่มกินได้เช่นเดียวกับน้ำสุรา
5. ห้ามมิให้ผู้ใดทำสุรา หรือมีภาชนะหรือเครื่องกลั่นสำหรับทำสุราไว้ในครอบครองเว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากใคร
ก. เจ้าพนักงานสรรพสามิต                                    ค. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ข. อธิบดีกรมสรรพสามิต                                        ง. นายกรัฐมนตรี
ตอบ   ข. อธิบดีกรมสรรพสามิต
มาตรา 5 ห้ามมิให้ผู้ใดทำสุรา หรือมีภาชนะหรือเครื่องกลั่นสำหรับทำสุราไว้ในครอบครองเว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากอธิบดีการออกใบอนุญาตให้ทำสุราสำหรับใช้ในบ้านเรือน ให้เป็นไป
ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
6. ห้ามมิให้ผู้ใดนำสุราเกินกว่าหนึ่งลิตรเข้ามาในราชอาณาจักร เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากใคร
ก. เจ้าพนักงานสรรพสามิต                                    ค. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ข. อธิบดีกรมสรรพสามิต                                        ง. นายกรัฐมนตรี
ตอบ  ก. เจ้าพนักงานสรรพสามิต
7. การเสียภาษีสุรากระทำได้โดย
ก. จ่ายเงินให้กับพนักงานเจ้าหน้าที่                    
ข. ปิดแสตมป์สุราที่ฝา
ค. ปิดแสตมป์สุราที่ภาชนะบรรจุสุรา                  
ง. ปิดแสตมป์สุราที่ภาชนะบรรจุสุราในความควบคุมของพนักงานเจ้าหน้าที่
ตอบ    ง. ปิดแสตมป์สุราที่ภาชนะบรรจุสุราในความควบคุมของพนักงานเจ้าหน้าที่
มาตรา 7(3) ผู้ได้รับใบอนุญาตทำสุรานอกจากทำสุราสำหรับใช้ในบ้านเรือนต้องเสียภาษีสำหรับสุราที่ทำได้ก่อนขนสุราออกจากโรงงานตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง การเสียภาษีให้กระทำโดยการปิดแสตมป์สุราที่ภาชนะบรรจุสุราในความควบคุมของพนักงานเจ้าหน้าที่ เว้นแต่ในกรณีที่รัฐมนตรีเห็นสมควรเพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีจะกำหนดวิธีการเสียภาษีโดยวิธีอื่นโดย
ออกเป็นกฎกระทรวงก็ได้
8. ผู้นำสุราเข้ามาในราชอาณาจักรจะต้องเสียภาษีสุราโดยปิดแสตมป์สุราที่ภาชนะบรรจุสุราตามอัตราที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง เว้นแต่สุรานั้นมีปริมาณไม่เกินกี่ลิตร
ก. 1  ลิตร                                                                    ค. 5  ลิตร
ข. 10  ลิตร                                                                  ง. 3  ลิตร
ตอบ   ก. 1  ลิตร           

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น