Custom Search

รายการบล็อก

  • ปัจจัยที่กำหนดอุปสงค์ของสินค้า - ปัจจัยที่กำหนดอุปสงค์ของสินค้า *รายได้ของผู้บริโภค* ความสัมพันธ์ระหว่างรายได้และปริมาณการเสนอซื้อสินค้าขึ้นอยู่กับชนิดของสินค้า ในกรณีสินค้าปกติ (Normal Goo...
    3 ปีที่ผ่านมา
  • การซื้อของผู้บริโภค - พฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภค หมายถึง พฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคขึ้นสุดท้ายที่ซื้อสินค้าและบริการไปเพื่อกินเองใช้เอง หรือเพื่อกินหรือใช้ภายในครัวเรือน ผู้บ...
    3 ปีที่ผ่านมา
วันเสาร์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

แนวข้อสอบนักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ กรมวิชาการเกษตร

1. ข้าราชการพลเรือน ตามกฎหมายใหม่ มีกี่ประเภท ได้แก่
ก. 2 ประเภท คือ ข้าราชการพลเรือนสามัญ และข้าราชการพลเรือนในพระองค์
ข. 3 ประเภท คือ ข้าราชการพลเรือนสามัญ ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ และข้าราชการประจำต่างประเทศพิเศษ
ค. 4 ประเภท คือ ข้าราชการพลเรือนสามัญ ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ และข้าราชการประจำต่างประเทศพิเศษและข้าราชการตุลาการ
ง. 5 ประเภท คือ ข้าราชการพลเรือนสามัญ ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ และข้าราชการประจำต่างประเทศพิเศษ ข้าราชการตุลาการ และข้าราชการอัยการ
ตอบ ก. 2 ประเภท คือ ข้าราชการพลเรือนสามัญ และข้าราชการพลเรือนในพระองค์

2. นายนิคม อาการดี รับราชการเป็นเจ้าพนักงานตรวจเงินแผ่นดินอยู่ที่จังหวัดสกลนคร นายอาคมเป็นข้าราชการประเภทใด
ก. ข้าราชการพลเรือนสามัญ
ข. ข้าราชการประจำต่างประเทศพิเศษ
ค. ข้าราชการอัยการ
ง. ข้าราชการพลเรือสามัญ
ตอบ ก. ข้าราชการพลเรือนสามัญ

3. ผู้อำนวยการสำนักงานงบประมาณ เป็นข้าราชการประเภทใด
ก. ข้าราชการสำนักนายกรัฐมนตรี
ข. ข้าราชการประจำต่างประเทศพิเศษ
ค. ข้าราชการกระทรวงการคลัง
ง. ข้าราชการพลเรือนสามัญ
ตอบ ง. ข้าราชการพลเรือนสามัญ

4. ข้อใดมิใช่ “ข้าราชการพลเรือน”
ก. ข้าราชการในกระทรวงต่างประเทศ
ข. ข้าราชการในกระทรวงกลาโหม
ค. ข้าราชการในกระทรวงมหาดไทย
ง. ข้าราชการอัยการ
ตอบ ง. ข้าราชการอัยการ

5. ข้อใดมิใช่ “ข้าราชการพลเรือน”
ก. ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ข. ข้าราชการปกครอง
ค. ข้าราชการตำรวจ
ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ก. ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

6. ตำแหน่งใดเทียบเท่าตำแหน่ง “อธิบดี”
ก. เลขนุการ ก.พ. ข. ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ
ค. เลขาธิการคณะรัฐมนตรี ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ง. ถูกทุกข้อ

7. หน่วยงานใดต่อไปนี้ที่มีหัวหน้าส่วนราชการรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี
ก. สำนักข่าวกรองแห่งชาติ ข. สำนักงบประมาณ
ค. สำนักคณะกรรมการการกฤษฎีกา ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ง. ถูกทุกข้อ

8. ผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 คือ
ก. นายกรัฐมนตรี ข. เลขาธิการ ก.พ.
ค. รองนายกรัฐมนตรี ง. ประธานกรรมการ ก.พ.
ตอบ ก. นายกรัฐมนตรี

9. ก.พ. ประกอบด้วยกรรมการไม่เกินกี่คน
ก. 3 คน ข. 5 คน
ค. 7 คน ง. 12 คน
ตอบ ง. 12 คน

10. ผู้ใดดำรงตำแหน่งประธานกรรมการ ก.พ.
ก. รองนายกรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมาย
ข. รัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย
ค. รัฐมนตรีสำนักงานนายกรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรี
ง. เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ตอบ ก. รองนายกรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมาย

11. กรรมการ ก.พ. ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งอยู่ในตำแหน่งคราวละกี่ปี
ก. 2 ปี ข. 3 ปี
ค. 4 ปี ง. 5 ปี
ตอบ ข. 3 ปี

12. เมื่อตำแหน่งกรรมการว่างลงก่อนกำหนดต้องดำเนินการแต่งตั้งภายในกี่วัน
ก. 30 วัน ข. 15 วัน
ค. 20 วัน ง. 45 วัน
ตอบ ก. 30 วัน

13. หากกรรมการ ก.พ. ว่างลงจะไม่แต่งตั้งกรรมการ ในกรณีใด
ก. วาระของกรรมการเหลืออยู่ไม่ถึง 60 วัน ข. วาระของกรรมการเหลืออยู่ไม่ถึง 90วัน
ค. วาระกรรมการเหลืออยู่ไม่ถึง 120 วัน ง. วาระกรรมการเหลืออยู่ไม่ถึง 180 วัน
ตอบ ง. วาระกรรมการเหลืออยู่ไม่ถึง 180 วัน

14. เมื่อนายกรัฐมนตรีได้รับรายงานจาก ก.พ. ในกรณีที่กระทรวงทบวงกรมไม่ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติข้าราชการพลเรือน และนายกรัฐมนตรีไม่เห็นด้วยกับมติของ ก.พ. ที่รายงาน ก.พ. จะต้องดำเนินการอย่างไร
ก. ทำตามความเห็นของนายกรัฐมนตรี
ข. ยืนยันให้นายกรับมนตรีทบทวนใหม่
ค. ต้องรายงานให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาวินิจฉัย
ง. เรียกประชุมคณะกรรมการเพื่อขอถอนเรื่องกลับมาพิจารณาข้อมูลใหม่
ตอบ ค. ต้องรายงานให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาวินิจฉัย

15. หน่วยงานใดที่มีหน้าที่รายงานคณะรัฐมนตรีในกรณีที่ค่าครองชีพเปลี่ยนแปลงไปมาก หรือจัดการสวัสดิการปรับปรุงเงินเดือนสำหรับข้าราชการพลเรือนให้เหมาะสม
ก. กรมบัญชีกลาง
ข. ก.พ.
ค. สำนักงบประมาณ
ง. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ตอบ ข. ก.พ.

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น