Custom Search

รายการบล็อก

วันเสาร์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

แนวข้อสอบ ป.ป.ช. เจ้าพนักงานปราบปรามการทุจริตปฏิบัติการ

1.       พรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ฉบับปัจจุบันแก้ไข 
          เพิ่มเติมฉบับใด พ.ศ. ใด 
          ก.  ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2550                                                             ข.  ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2551 
          ค.   ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2552                                                            ง.    ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2554 
          ตอบ    ง.  ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2554 
2.       พรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 มีผลบังคับใช้เมื่อใด 
          ก.   ตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา 
          ข.   ถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา 
          ค.   7 วันหลังจากประกาศในราชกิจจานุเบกษา 
          ง.   15 วันหลังจากประกาศในราชกิจจานุเบกษา 
          ตอบ    ข.  ถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา 
                       มาตรา 2 พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศ 
          ในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป 
3.       ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง  หมายความถึงบุคคลใด
          ก.   นายกรัฐมนตรี                                                                     ข.   รัฐมนตรี 
          ค.   สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร                                                 ง.    ถูกทุกข้อ 
          ตอบ    ง.  ถูกทุกข้อ 
                       ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง  หมายความว่า
                     (1)  นายกรัฐมนตรี 
                      (2)  รัฐมนตรี 
                      (3)  สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 
                      (4)  สมาชิกวุฒิสภา 
                      (5)  ข้าราชการการเมืองอื่นนอกจาก (1) (2) ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการการเมือง
                    (6)  ข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา 
                    (7)  ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร 
                    (8)  ผู้บริหารและสมาชิกสภาเทศบาลนคร 
                    (9)  ผู้บริหารท้องถิ่นและสมาชิกท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีรายได้หรืองบประมาณ 
          ไม่ต่ำกว่าเกณฑ์ที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติกำหนดโดยประกาศใน 
          ราชกิจจานุเบกษา 
4.       การที่ทรัพย์สินหรือหนี้สินในบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินที่ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้ยื่น 
          เมื่อพ้นจากตำแหน่งมีการเปลี่ยนแปลงไปจากบัญชีแสดงรายการ ทรัพย์สินและหนี้สินที่ได้ยื่นเมื่อเข้ารับ 
          ตำแหน่งในลักษณะที่ทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติหรือหนี้สินลดลงผิดปกติ หมายความถึงข้อใด 
          ก.   ทุจริตต่อหน้าที่                                                                    ข.   ทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติ            
          ค.   ร่ำรวยผิดปกติ                                                                      ง.    ทุจริตต่อหน้าที่ 
          ตอบ    ข.  ทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติ 
                        ทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติ  หมายความว่า การที่ทรัพย์สินหรือหนี้สินในบัญชีแสดงรายการ 
          ทรัพย์สินและหนี้สินที่ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้ยื่นเมื่อพ้นจากตำแหน่งมีการเปลี่ยนแปลงไปจาก 
          บัญชีแสดงรายการ ทรัพย์สินและหนี้สินที่ได้ยื่นเมื่อเข้ารับตำแหน่งในลักษณะที่ทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติ 
          หรือหนี้สินลดลงผิดปกติ 
5.       หมวด 1 ใน พรบ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตมีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับ 
          เรื่องใด 
ก.    คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ 
ข.    อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ 
ค.    การตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สิน 
ง.    การไต่สวนข้อเท็จจริง 
          ตอบ    ก.  คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ 
6.       คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเรียกโดยย่อว่าอะไร 
          ก.   คณะกรรมการ ป.ป.ช.                                                        ข.   คณะกรรมการ ปปช. 
          ค.   คณะกรรมการ คปช.                                                          ง.    คณะกรรมการ คกช. 
          ตอบ    ก.  คณะกรรมการ ป.ป.ช. 
                      มาตรา 6 ให้มีคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเรียกโดยย่อว่า 
          คณะกรรมการ ป.ป.ช.  ประกอบด้วยประธานกรรมการคนหนึ่งและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอื่นอีก
          แปดคน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา 
7.       คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนกี่คน
          ก.   ห้าคน                                                                                    ข.   หกคน
          ค.   เจ็ดคน                                                                                   ง.    แปดคน 
          ตอบ    ง.  แปดคน 
                      มาตรา 6 ให้มีคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเรียกโดยย่อว่า 
          คณะกรรมการ ป.ป.ช.  ประกอบด้วยประธานกรรมการคนหนึ่งและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอื่นอีก
          แปดคน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา 
8.       คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาตินั้น
          พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำและยินยอมของผู้ใด
          ก.   วุฒิสภา                                                                                 ข.   รัฐสภา 
          ค.   คณะรัฐมนตรี                                                                      ง.    นายกรัฐมนตรี 
          ตอบ    ก.  วุฒิสภา 
                      คำอธิบายดังข้อข้างต้น 
9.       ประธานวุฒิสภา จัดให้มีคณะกรรมการสรรหากรรมการจำนวนกี่คน 
          ก.   สิบคน                                                                                   ข.   สิบสองคน
          ค.   สิบสามคน                                                                           ง.    สิบห้าคน       
          ตอบ    ง.  สิบห้าคน 
                      มาตรา 7 การสรรหาและการเลือกกรรมการให้ดำเนินการดังต่อไปนี้ 
                       (1)  ให้ประธานวุฒิสภาจัดให้มีคณะกรรมการสรรหากรรมการจำนวนสิบห้าคน ประกอบด้วย 
          ประธานศาลฎีกา ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลปกครองสูงสุด อธิการบดีของสถาบันอุดมศึกษา 
          ของรัฐที่เป็นนิติบุคคลทุกแห่งซึ่งเลือกกันเองให้เหลือเจ็ดคน ผู้แทนพรรคการเมืองทุกพรรคที่มีสมาชิก 
          เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคละหนึ่งคน ซึ่งเลือกกันเองให้เหลือห้าคน และให้คณะกรรมการ 
          สรรหามีหน้าที่สรรหาและจัดทำบัญชีรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนสิบแปดคนเสนอต่อประธานวุฒิสภา 
          โดยต้องเสนอพร้อมความยินยอมของผู้ได้รับการเสนอชื่อนั้นทั้งนี้ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่มีเหตุ 
          ทำให้ต้องมีการเลือกบุคคลให้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว มติในการเสนอชื่อต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 
          สามในสี่ของจำนวนกรรมการสรรหาทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ 
10.     ข้อใดเป็นคณะกรรมการสรรหากรรมการ 
          ก.   ประธานศาลฎีกา                                                                ข.   ประธานศาลรัฐธรรมนูญ 
          ค.   ประธานศาลปกครองสูงสุด                                             ง.    ถูกทุกข้อ 
          ตอบ    ง.  ถูกทุกข้อ 

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น