Custom Search

รายการบล็อก

  • ปัจจัยที่กำหนดอุปสงค์ของสินค้า - ปัจจัยที่กำหนดอุปสงค์ของสินค้า *รายได้ของผู้บริโภค* ความสัมพันธ์ระหว่างรายได้และปริมาณการเสนอซื้อสินค้าขึ้นอยู่กับชนิดของสินค้า ในกรณีสินค้าปกติ (Normal Goo...
    3 ปีที่ผ่านมา
  • การซื้อของผู้บริโภค - พฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภค หมายถึง พฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคขึ้นสุดท้ายที่ซื้อสินค้าและบริการไปเพื่อกินเองใช้เอง หรือเพื่อกินหรือใช้ภายในครัวเรือน ผู้บ...
    3 ปีที่ผ่านมา
วันอาทิตย์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2556

8 ตัวอย่างภาษาอังกฤษแบบผิดๆ ที่เป็นคำฮิตติดปากคนไทย

1.อินเทรนด์ (in trend) คำนี้อินเทรนด์มากๆ เอ๊ย…ฮิตมากๆ ในปัจจุบัน สามารถได้ยินตามรายการวิทยุหรือโทรทัศน์ทั่วไป เพราะใช้กันทั่วบ้านทั่วเมือง เช่น เด็กสมัยนี้ถ้าจะให้อินเทรนด์ต้องตามแฟชั่นเกาหลี ซึ่งบางทีเวลาคุณต้องการพูดว่า “มันทันสมัย” คุณอาจจะติดปากว่า “It is in trend.” คำว่า “ทันสมัย” ฝรั่งเค้าไม่ใช้คำว่า “in trend” อย่างคนไทยเค้าจะใช้คำว่า “trendy” หรือ “fashionable” ซึ่งเป็นคำคุณศัพท์ที่คุณสามารถวางไว้หน้าคำนามที่ต้องการขยาย เช่น a trendy haircut ทรงผมที่ทันสมัย, a fashionable restaurant ร้านอาหารที่ทันสมัย หรือจะไว้หลัง verb to be เช่น It is trendy. หรือ It is fashionable. ก็ได้
2.เว่อร์(over) เช่น เธอคนนั้นทำอะไรเว่อร์ๆ She is over. ไม่มีความหมายแต่อย่างใดในภาษาอังกฤษ ฝรั่งที่ได้ยินคุณพูดเช่นนี้ คงมึนตึบ พร้อมทำสีหน้างงว่ามันหมายถึงอะไรเหรอ? พูดถึงคำนี้ คนไทยน่าจะหมายถึงการพูดเกินจริงหรือทำเกินจริง ซึ่งถ้าพูดเกินจริง ควรจะใช้คำศัพท์ที่ว่า “exaggerate” เป็นคำกิริยา อ่านว่า เอก-แซ้ก-เจ่อ-เรท ตัวอย่างเช่น
“He said you walked 30 miles.” เค้าบอกว่าคุณเดินตั้ง 30 ไมล์
“No – he’s exaggerating. It was only about 15.” ไม่หรอก เค้าพูดเว่อร์ (เกินจริง) มันก็แค่ 15 ไมล์เอง
ดังนั้น ถ้าจะบอกว่า เธอพูดเว่อร์น่ะ ก็บอกว่า You’re exaggerating. หรือจะบอกเค้าว่า อย่าพูดเว่อร์ๆ น่ะ อาจใช้ว่า Don’t exaggerate. ส่วนอาการเว่อร์อีกแบบคือการทำเกินจริง เราจะใช้คำกิริยาที่ว่า “overact” เช่น You’re overacting. เธอทำเว่อร์เกิน (แสดงอารมณ์เกินจริง)
3.ดูหนัง soundtrack เวลาคุณจะบอกใครว่า ฉันต้องการดูหนังฝรั่งที่พากย์ภาษาอังกฤษ อย่าพูดว่า “I want to watch a soundtrack film.” แต่ควรจะใช้ว่า “I want to watch an English film.” เพราะความหมายของคำว่า “soundtrack” คือ ดนตรีที่อยู่ในภาพยนตร์ ต่างหาก
ถ้าเราจะพูดถึงหนังฝรั่งที่พากย์เสียงภาษาไทย เราต้องบอกว่า “I want to watch an English film that is dubbed into Thai.” เพราะคำกิริยาว่า “dub” คือพากย์เสียงจากต้นแบบในหนังหรือรายการโทรทัศน์ไปเป็นภาษาอื่น ส่วนหนังที่มีคำบรรยายใต้ภาพเราเรียกว่า “a subtitled film” ซึ่งคำบรรยายที่อยู่ใต้ภาพ เราเรียกว่า “subtitles” (ต้องมี s ต่อท้ายเสมอนะครับ) เช่น a French film with English subtitles หนังฝรั่งเศสที่มีคำบรรยายใต้ภาพเป็นภาษาอังกฤษ
หนังบางเรื่องจะมีคำบรรยายใต้ภาพเป็นภาษาเดียวกับที่นักแสดงพูด เรามีศัพท์เรียกเฉพาะว่า “closed-captioned films/คำหวงห้าม/television programs” หรือ อาจเขียนย่อๆ ว่า “CC” เช่น You should watch a closed-captioned film to improve your English. คุณควรจะดูหนังฝรั่งที่มีคำบรรยายภาษาอังกฤษเพื่อพัฒนาภาษาอังกฤษของคุณ
4.นักศึกษาปี 1 คนไทยมักเรียกว่า “freshy” ซึ่งฝรั่งไม่รู้เรื่องเพราะไม่มีการบัญญัติศัพท์คำนี้ในภาษาอังกฤษ เค้าจะใช้คำว่า “fresher” หรือ “freshman” เช่น He is a fresher. หรือ He is a freshman. หรือ He is a first-year student. เขาเป็นนักศึกษาปี 1 ส่วนปีอื่นๆ คนไทยเรียกถูกแล้วครับ คือ ปี 2 เราเรียก a sophomore, ปี 3 เรียกว่า a junior และ ปี 4 เรียกว่า a senior
5.อัดหรือบันทึก คนไทยมักพูดทับศัพท์ว่า เร็คคอร์ด (record) คำๆ นี้สามารถเป็นได้ทั้งคำนามและคำกิริยา เพียงแค่เปลี่ยนตำแหน่ง stress กล่าวคือ ถ้าจะใช้เป็นคำนามที่แปลว่า แผ่นเสียงหรือสถิติ ให้ขึ้นเสียงสูงที่พยางค์แรก คือ “เร็ค-คอร์ด” เช่น He wants to buy a record. เขาต้องการซื้อแผ่นเสียง, I broke my own record. ฉันทำลายสถิติของฉันเอง แต่ถ้าคุณจะหมายถึงคำกิริยาที่แปลว่า อัดหรือบันทึก ต้อง stress พยางค์หลัง ซึ่งจะอ่านว่า “รี-คอร์ด” เช่น I’ll record the film and we can all watch it later. ฉันจะอัดหนัง เราจะได้เก็บไว้ดูทีหลังได้ ส่วนเครื่องบันทึก เราเรียกว่า “recorder” อ่านว่า รี-คอร์-เดอร์
6.ต่างคนต่างจ่าย เรามักใช้ American share รับรองว่าฝรั่ง(ต่อให้เป็นชาวอเมริกันด้วยครับ) ได้ยินแล้ว งงแน่นอน ถ้าคุณจะหมายถึงต่างคนต่างจ่ายให้ใช้ว่า “Let’s go Dutch.” หรือ “Go Dutch (with somebody).” อันนี้ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าเป็นธรรมเนียมของชาวดัตช์หรือเปล่า? ที่ต่างคนต่างจ่ายเลยมีสำนวนอย่างนี้ หรือคุณอาจจะบอกตรงๆ เลยว่า “You pay for yourself.” คือเป็นอันรู้กันว่าต่างคนต่างจ่าย แต่ถ้าคุณต้องการเป็นเจ้ามือ(ไม่ใช่เล่นไพ่นะคะ)เลี้ยงมื้อนี้เอง คุณควรพูดว่า “It’s my treat this time.” หรือ “My treat.” หรือ “It’s on me.” หรือ “All is on me.” หรือ “I’ll pay for you this time.” ทั้งหมดแปลว่า มื้อนี้ฉันจ่ายเอง ส่วนถ้าจะบอกเพื่อนว่า คราวหน้าแกค่อยเลี้ยงฉันคืน ให้บอกว่า “It’s your treat next time.”
7.ขอฉันแจม (jam) ด้วยคน ในกรณีนี้คำว่า “แจม” น่าจะหมายถึง “ร่วมด้วย” เช่น We are going to eat outside. Do you want to jam? เรากำลังจะออกไปกินข้าวข้างนอก เธอจะไปด้วยมั้ย? ในภาษาอังกฤษไม่ใช้คำว่า jam ในกรณีแบบนี้ ซึ่งควรจะใช้ว่า “Do you want to join us?”, “Do you want to come with us?” หรือ “Do you want to come along?” จะดีกว่า
8.เขามีแบ็ค (back) ดี “He has a good back.” ฝรั่งคงงงว่ามันเกี่ยวอะไรกับข้างหลังของเค้า เพราะ back แปลว่า หลัง (อวัยวะ) แต่คุณกำลังจะพูดถึงมีคนคอยสนับสนุน ซึ่งต้องใช้ “a backup” ซึ่งหมายถึง คนหรือสิ่งของที่ช่วยสนับสนุน ช่วยเหลือ เกื้อกูล เป็นกำลังใจให้

แรนวข้อสอบ กทม

11. ตามพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534 “ทะเบียนบ้านกลาง” หมายถึงข้อใดถูกต้อง
    ก. ทะเบียนซึ่งแสดงรายการคนตาย
    ข. ทะเบียนซึ่งผู้อำนวยการทะเบียนกลางกำหนดให้จัดทำขึ้นสำหรับลงรายการบุคคลที่ไม่อาจมีชื่อในทะเบียนบ้าน
     ค. รายการของคนทั้งหมดผู้อยู่ในบ้าน
     ง. ถูกทั้ง ข้อ ก และ ข้อ ค
    จ. ถูกทุกข้อ


12. ตามพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534 “เจ้าบ้าน”  หมายถึงข้อใดถูกต้อง
    ก. ซึ่งเป็นหัวหน้าครอบครองบ้านในฐานะเป็นเจ้าของ            ข. ผู้เช่าบ้าน
    ค. ในกรณีที่ไม่ปรากฏเจ้าบ้าน หรือเจ้าบ้านไม่อยู่ ผู้มีหน้าที่ดูแลบ้านในขณะนั้นเป็นเจ้าบ้าน   
    ง. ถูกทั้ง ข้อ ก และ ข้อ ข
    จ. ถูกทุกข้อ
13. ตามพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534 “นายทะเบียน” หมายถึงข้อใดถูกต้อง
    ก. นายทะเบียนประจำสำนักทะเบียนกลาง                      ข. นายทะเบียนประจำสำนักทะเบียนอำเภอ
    ค. นายทะเบียนประจำสำนักทะเบียนท้องถิ่น
    ง. นายทะเบียนประจำสำนักทะเบียนสาขา นายทะเบียนประจำสำนักทะเบียนเฉพาะกิจ และนายทะเบียนผู้รับแจ้ง
    จ. ถูกทุกข้อ
14. ตามพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534 นายทะเบียนผู้รับแจ้ง” หมายถึงข้อใดถูกต้อง
    ก. นายทะเบียนอำเภอ                                         ข.นายทะเบียนท้องถิ่น
    ค.ผู้ซึ่งผู้อำนวยการทะเบียนกลางได้กำหนดให้มีหน้าที่เกี่ยวกับการแจ้งการเกิด การตาย การย้ายที่อยู่ การสร้างบ้านใหม่
      การรื้อบ้าน และการกำหนดเลขประจำบ้านนายทะเบียนอำเภอ นายทะเบียนท้องถิ่น และผู้ซึ่งผู้อำนวยการทะเบียน
      กลางได้กำหนดให้มีหน้าที่เกี่ยวกับการแจ้งการเกิด การตาย การย้ายที่อยู่ การสร้างบ้านใหม่ การรื้อบ้าน และ
      การกำหนดเลขประจำบ้าน
    ง. ถูกทั้ง ข้อ ก และ ข้อ ข
    จ. ถูกทุกข้อ
15. ใครมีอำนาจออกกฎกระทรวงกำหนดหรือยกเว้นการปฏิบัติเกี่ยวกับการแจ้งการเกิด การแจ้งการตาย การแจ้งการย้าย
    ที่อยู่ การสำรวจตรวจสอบหรือปรับปรุงการทะเบียนราษฎร การจัดทำทะเบียนประวัติ การจัดทำบัตรประจำตัวหรือ
    การอื่นใดอันเกี่ยวกับคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทยตามกฎหมายที่เกี่ยวด้วยสัญชาติได้
    ก. ผู้ว่าราชการจังหวัด                                          ข. อธิบดีกรมการปกครอง
    ค. ปลัดกระทรวงมหาดไทย                                    ง. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
    จ. ไม่มีข้อไดถูก
16.ตามพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534 ใครรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจแต่งตั้งพนักงาน
     เจ้าหน้าที่กับออกกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมไม่เกินอัตราท้ายพระราชบัญญัตินี้
     ก. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย                          ข. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
     ค. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม                            ง. ถูกทั้ง ข้อ ก และ ข้อ ข
    จ. ถูกทุกข้อ - See more at: http://www.testthai.net/read.php?tid=6017#sthash.DnxYk3ao.dpuf
1.  พระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534 ให้ไว้เมื่อใด     
     ก. วันที่  24  กรกฎาคม 2534                                ข. วันที่ 24 สิงหาคม 2534
    ค. วันที่  26   กันยายน  2534                               ง. วันที่ 10 ตุลาคม 2534
    จ. วันที่  14  พฤศจิกายน 2534
2. พระราชบัญญัติ การทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534ให้ไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของใคร  
    ก. สภานิติบัญญัติแห่งชาติ                                     ข. สภาผู้แทนราษฏร
    ค. วุฒิสภา                                                    ง. รัฐสภา         
    จ. นายกรัฐมนตรี 
3. พระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534 ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดกี่วันนับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจา
   นุเบกษา เป็นต้นไป
    ก. 60 วัน                                                     ข. 90 วัน
    ค. 120 วัน                                                    ง. 180 วัน

4. ตามพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534  “การทะเบียนราษฎร”  หมายถึงข้อใดถูกต้อง
    ก. งานทะเบียนต่างๆ ตามพระราชบัญญัตินี้ รวมทั้งการจัดเก็บข้อมูลทะเบียนประวัติราษฎร
     ข. ข้อมูลตัวบุคคลเกี่ยวกับ ชื่อ ชื่อสกุล เพศ วันเดือนปีเกิดและตาย สัญชาติ ศาสนา ภูมิลำเนา สถานการณ์สมรส
    ค. เลขประจำตัวประชาชนที่นายทะเบียนออกให้แก่บุคคล 
    ง. ถูกทั้ง ข้อ ก และ ข้อ ข
    จ. ถูกทุกข้อ
5. ตามพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534 “ข้อมูลทะเบียนประวัติราษฎร”  หมายถึงข้อใดถูกต้อง
    ก. ข้อมูลตัวบุคคลเกี่ยวกับ ชื่อ ชื่อสกุล เพศ                       ข. วันเดือนปีเกิดและตาย สัญชาติ ศาสนา
     ค. ภูมิลำเนา สถานะการสมรส วุฒิการศึกษา                  
    ง. ชื่อบิดามารดาหรือผู้รับบุตรบุญธรรม ชื่อคู่สมรส และชื่อบุตร และข้อมูลอื่นที่จำเป็นเพื่อการดำเนินงานทะเบียนต่างๆ
     จ. ถูกทุกข้อ
6. ตามพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534 “เลขประจำตัว” หมายถึงข้อใดถูกต้อง
    ก.  เลขประจำตัวประชาชนที่นายทะเบียนออกให้แก่บุคคลแต่ละคน
     ข.  เลขที่ออกให้ในวันเกิดตามสูติบัตร                          ค. เลขที่ออกให้เพื่อยืนยันตัวบุคคลได้จริง
    ง.  ถูกทั้ง ข้อ ก และ ข้อ ค                                    จ. ถูกทุกข้อ

7. ตามพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534  “บ้าน”  หมายถึงข้อใดถูกต้อง
    ก. โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างสำหรับใช้เป็นที่อยู่อาศัย ซึ่งมีเจ้าบ้านครอบครอง
     ข. แพ
    ค. โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างสำหรับใช้เป็นที่อยู่อาศัย
    ง. สถานที่ หรือยานพาหนะอื่นซึ่งใช้เป็นที่อยู่อาศัยประจำ
    จ. ถูกทุกข้อ
8. ตามพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534  “ทะเบียนบ้าน” หมายถึงข้อใดถูกต้อง
    ก. ทะเบียนประจำบ้านแต่ละบ้านซึ่งแสดงเลขประจำบ้าน           ข. รายการของคนทั้งหมดผู้อยู่ในบ้าน
     ค. ทะเบียนประวัติบุคคลที่อยู่ในบ้าน                           ง. ถูกทั้ง ข้อ ก และ ข้อ ข
    จ. ถูกทุกข้อ
9. ตามพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534 “ทะเบียนคนเกิด” หมายถึงข้อใดถูกต้อง
    ก. ทะเบียนซึ่งแสดงรายการคนเกิด
    ข. ทะเบียนซึ่งผู้อำนวยการทะเบียนกลางกำหนดให้จัดทำขึ้นสำหรับลงรายการบุคคลที่ไม่อาจมีชื่อในทะเบียนบ้าน
     ค. รายการของคนทั้งหมดผู้อยู่ในบ้าน
     ง. ถูกทั้ง ข้อ ก และ ข้อ ค
    จ. ถูกทุกข้อ
10. ตามพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534 “ทะเบียนคนตาย” หมายถึงข้อใดถูกต้อง
    ก. ทะเบียนซึ่งแสดงรายการคนตาย
    ข. ทะเบียนซึ่งผู้อำนวยการทะเบียนกลางกำหนดให้จัดทำขึ้นสำหรับลงรายการบุคคลที่ไม่อาจมีชื่อในทะเบียนบ้าน
     ค. รายการของคนทั้งหมดผู้อยู่ในบ้าน
     ง. ถูกทั้ง ข้อ ก และ ข้อ ค
    จ. ถูกทุกข้อ - See more at: http://www.testthai.net/read.php?tid=6017#sthash.DnxYk3ao.dpuf