Custom Search

รายการบล็อก

วันอาทิตย์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

แนวข้อสอบเจ้าพนักงานแรงงาน

1. ข้อใด  หมายถึงลูกจ้าง
ก. ครูอัตราจ้างในโรงเรียน                                            ข. อาชีพแม่บ้าน
ค.   พนักงานบริษัท                                                          ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ  ง. ถูกทุกข้อ 
ลูกจ้าง หมายถึงลูกจ้างทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นลูกจ้างทดลองงาน ลูกจ้างชั่วคราว ลูกจ้างประจำ ลูกจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาแน่นอน 
ลูกจ้างที่ทำงานไม่เต็มเวลา ลูกจ้างสัญญาพิเศษ และรวมถึงลูกจ้างซึ่งทำงานเกี่ยวกับงานบ้านด้วย
2. กฎกระทรวงได้กำหนดเวลาทำงานของลูกจ้างไม่เกินกี่ชั่วโมงต่อวัน
ก. 7  ชั่วโมง                                                                     ข.  8  ชั่วโมง
ค.   6  ชั่วโมง                                                                     ง.   9  ชั่วโมง
ตอบ  ข.  8  ชั่วโมง
3. กฎกระทรวงได้กำหนดเวลาทำงานเมื่อรวมเวลาทำงานทั้งสิ้นสัปดาห์หนึ่งต้องไม่เกินกี่ชั่วโมง
ก. 40  ชั่วโมง                                                                  ข.  42  ชั่วโมง
ค.   48  ชั่วโมง                                                                  ง.   50  ชั่วโมง
ตอบ   ค.   48  ชั่วโมง                        
4. ในกรณีงานที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพและความปลอดภัยของลูกจ้างกฎกระทรวงได้กำหนดเวลาทำงานปกติวันหนึ่งต้องไม่เกินกี่ชั่วโมง
ก. 7  ชั่วโมง                                                                     ข.  8  ชั่วโมง
ค.   6  ชั่วโมง                                                                     ง.   9  ชั่วโมง
ตอบ   ก. 7  ชั่วโมง             
5. จากข้อ  51 เมื่อรวมเวลาทำงานทั้งสิ้น  กฏกระทรวงกำหนดเวลาทำงานสัปดาห์หนึ่งไม่เกินกี่ชั่วโมง
ก. 40  ชั่วโมง                                                                  ข.  42  ชั่วโมง
ค.   48  ชั่วโมง                                                                  ง.   50  ชั่วโมง
ตอบ  ข.  42  ชั่วโมง
6. ข้อใดเป็นงานที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพและความปลอดภัยของลูกจ้าง
ก. งานเชื่อมโลหะ                                                          ข. งานที่เกี่ยวกับกัมมันตภาพรังสี
ค.   งานผลิตสารเคมีอันตราย                                         ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ  ง. ถูกทุกข้อ  
งานที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพและความปลอดภัยของลูกจ้าง ได้แก่ 
(๑) งานที่ต้องทำใต้ดิน ใต้น้ำ ในถ้ำ ในอุโมงค์ หรือในที่อับอากาศ
(๒) งานที่เกี่ยวกับกัมมันตภาพรังสี
(๓) งานเชื่อมโลหะ
(๔) งานขนส่งวัตถุอันตราย
(๕) งานผลิตสารเคมีอันตราย
(๖) งานที่ต้องทำด้วยเครื่องมือหรือเครื่องจักรซึ่งผู้ทำได้รับความสั่นสะเทือนอันอาจเป็นอันตราย
(๗)งานที่ต้องทำเกี่ยวกับความร้อนจัดหรือความเย็นจัดอันอาจเป็นอันตราย
7. กฎหมายคุ้มครองแรงงานห้ามมิให้นายจ้างจ้างเด็กอายุต่ำกว่าเท่าใดเป็นลูกจ้าง
ก. 15  ปี                                                            ข.  18  ปี
ค.   13  ปี                                                            ง.   20  ปี
ตอบ  ก. 15  ปี     
8. กฎหมายคุ้มครองแรงงานห้ามมิให้นายจ้างให้ลูกจ้างซึ่งเป็นเด็กอายุต่ำกว่ากี่ปีทำงานล่วงเวลาหรือทำงานในวันหยุด
ก. 20  ปี                                                            ข.  25  ปี
ค.   22  ปี                                                            ง.  18  ปี
ตอบ  ง.  18  ปี
9. กฎหมายคุ้มครองแรงงานห้ามมิให้นายจ้างให้ลูกจ้างซึ่งเป็นเด็กอายุต่ำกว่า  18  ปี ทำงานในสถานที่ใด
ก. โรงฆ่าสัตว์                                                  ข. สถานที่เล่นการพนัน
ค.   สถานที่เต้นรำ รำวง หรือรองเง็ง            ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ  ง. ถูกทุกข้อ
มาตรา ๕๐ ห้ามมิให้นายจ้างให้ลูกจ้างซึ่งเป็นเด็กอายุต่ำกว่าสิบแปดปีทำงานในสถานที่ดังต่อไปนี้
(๑) โรงฆ่าสัตว์
(๒) สถานที่เล่นการพนัน
(๓) สถานที่เต้นรำ รำวง หรือรองเง็ง
(๔) สถานที่ที่มีอาหาร สุรา น้ำชา หรือเครื่องดื่มอย่างอื่นจำหน่ายและบริการ โดยมีผู้บำเรอสำหรับปรนนิบัติลูกค้า หรือโดยมีที่สำหรับพักผ่อนหลับนอน หรือมีบริการนวดให้แก่ลูกค้า
(๕) สถานที่อื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวงมาตรา ๕๑
10. คำว่า "เด็ก" ในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ หมายถึงข้อใด
ก. บุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์
ข. บุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 16 ปีบริบูรณ์
ค. บุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์
ง. บุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์
ตอบ   ค. บุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์


แนวข้อสอบนิติกร

พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ  พ.ศ. ๒๕๕๓
1.    พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ  พ.ศ. ๒๕๕๓ ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อใด
ก.    ๖ ธันวาคม ๒๕๕๓            ค. ๓ ธันวาคม ๒๕๕๓
ข.    ๗ ธันวาคม ๒๕๕๓            ง. ๘ ธันวาคม ๒๕๕๓
ตอบ    ข.๗ ธันวาคม ๒๕๕๓
2.    พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ  พ.ศ. ๒๕๕๓  มีผลบังคับใช้เมื่อใด
ก.    ๖ ธันวาคม ๒๕๕๓            ค. ๓ ธันวาคม ๒๕๕๓
ข.    ๗ ธันวาคม ๒๕๕๓            ง. ๘ ธันวาคม ๒๕๕๓
ตอบ   ง. ๘ ธันวาคม ๒๕๕๓
3.    “ก.อ.” หมายความว่า
ก.    คณะกรรมการอัยการ            ค. คณะกรรมการข้าราชการฝ่ายอัยการ
ข.    คณะกรรมการอัยการสูงสุด        ง. คณะกรรมการฝ่ายอัยการ
ตอบ    ก.คณะกรรมการอัยการ
4.    ใครเป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
ก.    อัยการสูงสุด                ค.รองอัยการสูงสุด
ข.    ก.อ.                       ง.อธิบดีอัยการ
ตอบ   ก. อัยการสูงสุด
5.    ข้าราชการฝ่ายอัยการ แบ่งออกเป็นกี่ประเภท
ก.    2  ประเภท                ค. 4  ประเภท
ข.    3  ประเภท                ง. 5  ประเภท
ตอบ  ก. 2  ประเภท
6.    ข้อใด ไม่ใช่ ประเภทของข้าราชการฝ่ายอัยการ
ก.    ข้าราชการอัยการ                ค. ข้าราชการสารบรรณ
ข.    ข้าราชการธุรการ                ง. ไม่ใช่ทั้ง  ข้อ ข และ  ค
ตอบ  ค. ข้าราชการสารบรรณ
7.    คณะกรรมการอัยการประกอบด้วย
ก.    อัยการสูงสุด                ค. รองอัยการสูงสุด
ข.    กรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ        ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ  ง. ถูกทุกข้อ

พระราชบัญญัติองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓

1.    พระราชบัญญัติองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อใด
ก.    ๖ ธันวาคม ๒๕๕๓            ค. ๓ ธันวาคม ๒๕๕๓
ข.    ๗ ธันวาคม ๒๕๕๓            ง. ๘ ธันวาคม ๒๕๕๓
ตอบ    ข.๗ ธันวาคม ๒๕๕๓
2.    พระราชบัญญัติองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ มีผลบังคับใช้เมื่อใด
ก.    ๖ ธันวาคม ๒๕๕๓            ค. ๓ ธันวาคม ๒๕๕๓
ข.    ๗ ธันวาคม ๒๕๕๓            ง. ๘ ธันวาคม ๒๕๕๓
ตอบ   ง. ๘ ธันวาคม ๒๕๕๓
3.    พระราชบัญญัติองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ ปัจจุบันเป็นฉบับที่เท่าใด
ก.    ฉบับที่  ๕                ค. ฉบับที่  ๖
ข.    ฉบับที่  ๓                ง. ฉบับที่   ๗
ตอบ   ค. ฉบับที่  ๖
4.    คณะกรรมการอัยการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ   มีชื่อย่อว่าอะไร
ก.    อก.                    ค. ก.อ.ร.
ข.    ก.อ.                    ง. ค.ก.อ.
ตอบ   ข.   ก.อ.
5.    ใครเป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
ก.    อัยการสูงสุด                ค.รองอัยการสูงสุด
ข.    ก.อ.                       ง.อธิบดีอัยการ
ตอบ   ก. อัยการสูงสุด
6.    องค์กรอัยการประกอบด้วย
ก.    ก.อ.                    ค. พนักงานอัยการอื่น
ข.    อัยการสูงสุด                ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ   ง. ถูกทุกข้อ
1. ใครเป็นผู้วางระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ.2526
- คณะรัฐมนตรี
2. ข้อความใดเป็นความหมายของงานสารบรรณตามระเบียบนี้
-การเก็บรักษา การรับ-การส่งการจัดทำ,การยืม,การทำลาย
3. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณที่ถือปฏิบัติในขณะนี้เป็นฉบับ พ.ศ.ใด
พ.ศ. 2526
4. หนังสือราชการ คือ
เอกสารที่เป็นหลักฐานในราชการ
5. หนังสือที่ต้องปฏิบัติให้เร็วกว่าปกติ แบ่งเป็นกี่ประเภท
- 3 ประเภท (ด่วน,ด่วนมาก,ด่วนที่สุด)
6. ส่วนราชการใดมีความจำเป็นที่จะต้องปฏิบัติงานสารบรรณนอกเหนือไปจากที่กำหนดไว้ในระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ.2526 ให้ขอทำความตกลงกับใคร
ปลัดสำนักนกยกรัฐมนตรี
7. หนังสือราชการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ มีกี่ชนิด
- 6 ชนิด
8. หนังสือราชการคือ เอกสารที่เป็นหลักฐานในราชการมีกี่ประเภท
- 6 ประเภท
9. ถ้าผู้รับหนังสือเป็นรัฐมนตรีคำขึ้นต้นใช้คำว่าอะไร
เรียน (คำลงท้าย..ขอแสดงความนับถือ)
10. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2548 ให้ใช้บังคับตั้งแต่เมื่อใด
วันที่ 24 กันยายน 2548
11. หนังสือที่ติดต่อราชการเป็นแบบพิธีได้แก่หนังสือชนิดใด
หนังสือภายนอก
12. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ.2526 ใช้บังคับแล้ว ให้ยกเลิกฉบับใดบ้าง
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2506
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการลงชื่อในหนังสือราชการ พ.ศ. 2507
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการลงชื่อในหนังสือราชการ ฉบับที่ พ.ศ. 2516
13. งานสารบรรณมีความหมายตรงกับอะไร
งานที่เกี่ยวกับการบริหารงานเอกสาร เริ่มตั้งแต่การจัดทำ การรับ การส่ง การเก็บรักษา การยืม จนถึงการทำลาย
14. “หนังสือ” ตามระเบียบนี้ หมายความว่าอะไร
หนังสือราชการ
15. หนังสือประทับตราใช้สำหรับเรื่องใด
การเตือนเรื่องที่ค้าง
การขอรายละเอียดเพิ่มเติม
การแจ้งผลงานให้ผุ้เกี่ยวข้องทราบ
16. เจ้าของเรื่องจะเก็บหนังสือประเภทใดได้บ้าง
เจ้าของเรื่องสามารถเก็บหนังสือทั้งที่เป็นต้นฉบับและสำเนาซึ่งเป็นหนังสือที่อยู่ในระหว่างปฏิบัติและหนังสือที่ปฏิบัติการเสร็จแล้วแต่ต้องเก็บไว้เพื่อใช้ในการตรวจสอบ
17. การทำสำเนาในระเบียบงานสารบรรณ พ.ศ.2526 ประกอบด้วยอะไรบ้าง
สำเนาคู่ฉบับ หนังสือราชการเป็นหลักฐานที่สำคัญในราชการระเบียบงานสารบรรณจึงบังคับให้มีสำเนาคู่ฉบับไว้อย่างน้อย ฉบับ
การทำสำเนา กระทำได้หลายวิธี เช่น ถ่าย อัด คัด เป็นต้น
เอกสารทางราชการจำเป็นต้องมีสำเนาซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องส่งให้ผู้เกี่ยวข้องทราบหลายคน
18. ผู้ที่จะทำงานสารบรรณได้ดีจำเป็นต้องรู้งานด้านธุรการในลักษณะใดบ้าง
มีความรู้ด้านภาษาเป็นอย่างดี
มีการติดต่อ โต้ตอบและประสานงานที่ดี
รู้จักกาลเทศะ ความควรไม่ควร
19. หนังสือสั่งการ มีกี่ชนิด
ชนิด ได้แก่ คำสั่งระเบียบข้อบังคับ
20. หนังสือประชาสัมพันธ์มีกี่ชนิด
 ชนิด ได้แก่ ประกาศแถลงการณ์ข่าว
21. หนังสือรับรองรายงานการประชุมและหนังสืออื่นจัดอยู่ในหนังสือชนิดใด
หนังสือที่เจ้าหน้าที่จัดทำขึ้นหรือรับไว้เป็นหลักฐานในราชการ
22. การอ้างหนังสือที่มีทั้งชั้นความเร็วและชั้นความลับนั้น ข้อปฏิบัติที่ถูกต้องคือ
อ้างชั้นความลับก่อนชั้นความเร็ว
23. หนังสือราชการที่จัดทำขึ้นให้มีสำเนาคู่ฉบับไว้อย่างน้อยกี่ฉบับ
- 1 ฉบับ
24. “อิเล็กทรอนิกส์” หมายความว่า
การประยุกต์ใช้วิธีการทางอิเล็กตรอนไฟฟ้า คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหรือวิธีอื่นใดในลักษณะคล้ายกัน
การประยุกต์ใช้วิธีการทางแสง วิธีการทางแม่เหล็ก หรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการประยุกต์ใช้วิธีต่างๆเช่นว่านั้น
25. หนังสือประทับตราคือ
หนังสือที่ใช้ประทับตราแทนการลงชื่อของหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมขึ้นไป โดยให้หัวหน้าส่วนราชการระดับกองหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมขึ้นไป เป็นผู้รับผิดชอบลงชื่อย่อกำกับตรา
26. หนังสือประทับตราให้ใช้ได้ทั้งระหว่างส่วนราชการกับส่วนราชการ และระหว่างส่วนราชการกับบุคคลภายนอก เฉพาะกรณีที่ไม่ใช่เรื่องสำคัญ ได้แก่
การขอรายละเอียดเพิ่มเติม
การส่งสำเนาหนังสือ สิ่งของ เอกสาร หรือบรรณสาร
การตอบรับทราบที่ไม่เกี่ยวกับราชการสำคัญหรือการเงิน
การแจ้งผลงานที่ได้ดำเนินการไปแล้วให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องทราบ
การเตือนเรื่องที่ค้าง
เรื่องซึ่งหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมขึ้นไปกำหนด โดยทำเป็นคำสั่ง ให้ใช้หนังสือประทับตรา
27.  ให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการเก็บหนังสือสำรวจหนังสือที่มีอายุครบการเก็บในปีนั้น และทำบัญชีหนังสือขอทำลายเสนอหัวหน้าส่วนราชการ ภายในกี่วัน
- 60 วัน หลังจากวันสิ้นปีปฏิทินนั้น
28. หนังสือที่ต้องปฏิบัติให้เร็วกว่าปกติ เป็นหนังสือที่ต้องจัดส่งและดำเนินการทางสารบรรณด้วยความรวดเร็วเป็นพิเศษ แบ่งเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง
 ประเภท ได้แก่ ด่วนที่สุด (ให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติในทันทีที่ได้รับหนังสือนั้น)
   ด่วนมาก (ให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติโดยเร็ว
  ด่วน (ให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติเร็วกว่าปกติ เท่าที่จะทำได้)
29. หนังสือที่ต้องปฏิบัติให้เร็วกว่าปกติ ต้องระบุชั้นความเร็ว และขนาดตัวอักษร อย่างไร
ให้ระบุชั้นความเร็วด้วยตัวอักษรสีแดง ขนาดไม่เล็กกว่าตัวพิมพ์โป้ง 32 พอยท์ ให้เห็นได้ชัดบนหนังสือและบนซอง
30. กรณีต้องการให้หนังสือส่งถึงผู้รับภายในเวลาที่กำหนด ควรระบุอะไรบ้าง
ระบุคำว่า ด่วนภายใน” แล้วลง วัน เดือน ปี และกำหนดเวลาที่ต้องการให้หนังสือนั้นไปถึงผู้รับ กับให้เจ้าหน้าที่ส่งถึงผู้รับซึ่งระบุบนหน้าซองภายในเวลาที่กำหนด
31. “ระบบงานสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์” หมายความว่า
การรับส่งข้อมูลข่าวสารหรือหนังสือผ่านระบบสื่อสารด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์
32. หนังสือที่ใช้ติดต่อราชการระหว่างส่วนราชการหรือส่วนราชการกับบุคคลภายนอกคือหนังสือใด
หนือสือภายนอก
-หนังสือประทับตรา
33. ผู้มีอำนาจให้บุคคลภายนอกยืมหนังสือคือใคร
กระทำมิได้
34. ผู้มีอำนาจให้บุคคลภายนอกดูหรือคัดลอกหนังสือ คือใคร
หัวหน้าส่วนราชการระดับกองขึ้นไป หรือผู้ทีได้รับมอบหมาย
35. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ.2526 ใช้บังคับแก่ใคร
ใช้บังคับแก่ส่วนราชการ ( ส่วนราชการใดมีความจำเป็นที่จะต้องปฏิบัติงานสารบรรณนอกเหนือไปจากที่ได้กำหนดไว้ในระเบียบนี้ ให้ขอทำความตกลงกับผู้รักษาการตามระเบียบนี้)
36. ส่วนราชการ หมายความว่าอย่างไร
กระทรวง ทบวง กรม สำนักงาน หรือหน่วยงานใดของรัฐ ทั้งในบริหารส่วนกลาง ราชการบริหารส่วนภูมิภาค ราชการบริหารส่วนท้องถิ่น หรือในต่างประเทศ และให้หมายความถึงคณะกรรมการด้วย
37. คณะกรรมการ หมายความว่าอย่างไร
คณะบุคคลที่ได้รับมอบหมายจากทางราชการให้ปฏิบัติงานในเรื่องใดๆ และให้หมายรวมถึงคณะอนุกรรมการ คณะทำงาน หรือคณะบุคคลอื่นที่ปฏิบัติงานในลักษณะเดียวกัน
38. คณะกรรมการดำเนินการทำลายหนังสือประกอบด้วยบุคคลอย่างน้อยกี่คน
- 3 คน (ประธานกรรมการ คน และกรรมการอีกอย่างน้อย คน)
39. คณะกรรมการทำลายหนังสือ โดยปกติให้แต่งตั้งจากข้าราชการตั้งแต่ระดับใด
ระดับ หรือเทียบเท่าขึ้นไป
40. ใครเป็นผู้แต่งตั้งคณะกรรมการทำลายหนังสือ
หัวหน้าส่วนราชการระดับกรม

แนวกรมการพัฒนาชุมชน

1.       ขั้นตอนของการพัฒนาชุมชน คือ การศึกษาชุมชน การให้การศึกษาแก่ชุมชน การวางแผนโครงการ การดำเนินงานตามแผนและโครงการ การติดตามประเมินผล

2.       การแก้ปัญหาของชุมชน ด้วยวิธี อริยสัจ 

3.       ประเทศไทยมีอำเภอทั้งหมด 878 อำเภอ

4.       คำว่า มืดก็จุดเทียน หมายความว่า ปัญหามีทางออกเสมอ

5.       สัญลักษณ์กระต่ายที่เฉลิมพระเกียรติฯ ในหลวง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรืองของประเทศ
6.       สมาชิกสภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเริ่ม ตั้งแต่วันที่เลือกตั้ง
7.       ผู้อำนวยการ IMF มีสัญชาติ ฝรั่งเศส
8.       ต้นไม้ประจำชาติไทย คือ ราชพฤกษ์

9.       คำว่า ระเบิดจากข้างใน หมายถึง ต้องสร้างความเข้มแข็งให้คนในชุมชนที่เราเข้าไปพัฒนา ให้มีสภาพพร้อมที่จะรับการพัฒนาเสียก่อน แล้วจึงค่อยออกมาสู่สังคมภายนอก 
10.   ภารกิจใหม่ของกรมฯ มี 5 ประการ คือ ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้และการมีส่วนร่วมของประชาชน, ส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนฐานรากให้มั่นคง, สนับสนุนจัดทำและใช้ประโยชน์จากข้อมูลสารสนเทศ, ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย จัดทำยุทธศาสตร์ชุมชน, และ สุดท้าย ฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาชุมชน
11.   วิสัยทัศน์ของกรมฯ คือ กรมการพัฒนาชุมชนเป็นหน่วยงานหลักในการส่งเสริมการบริหารจัดการชุมชนให้เข้มแข็งอย่างยั่งยืน

12.   วันครอบครัวตรงกับ วันที่ 14 เมษายน ของทุกปี
13.   คำว่า ชุมชนเข้มแข็ง หมายถึง ……………………..

14.   เครื่องมือชี้วัด จปฐ. มี 6 หมวด 42 ตัวชี้วัด

15.   กชช. 2 ค จัดเก็บข้อมูล ทุก 2 ปี
16.   จปฐ. ให้ อาสาสมัครเป็นคนเก็บข้อมูล

17.   ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดแผนชุมชนและร่วมในการวิเคราะห์ ต้องมี ครัวเรือนร้อยละ 70% ขึ้นไป

18.   ข้อใดที่ไม่ใช่หลักของการพัฒนาชุมชน คือ การยึดความถูกใจของทุกคน

19.   หลักคุณธรรมของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต มีอยู่ 5 ประการคือ ความซื่อสัตย์, ความเสียสละ, ความรับผิดชอบ, ความเห็นอกเห็นใจ, และความไว้วางใจซึ่งกันและกัน
20.   ผู้ที่ต้องมีบัตรประชาชน คือ อายุ 7-70 ปีบริบูรณ์

21.   เกณฑ์การจัดระดับหมู่บ้าน คือ พออยู่ อยู่ดี กินดี และมั่งมี ศรีสุข

22.   หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงเกณฑ์ 6*2 ข้อใดไม่ใช่ การเพิ่มรายได้
23.   สมาชิกกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง สามารถกู้ได้รายละ20,000 บาท ใช้คืนภายใน 2 ปี

24.   เครือข่ายองค์ความรู้ KBO จังหวัดประกอบด้วย สถาบันการศึกษาในพื้นที่, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, เครือข่ายผู้ผลิต OTOP หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง, และปราชญ์ชาวบ้าน ผู้ทรงคุณวุฒิ
25.   การคัดเลือกสุดยอด OTOP คือ สามารถส่งออกได้ , ผลิตอย่างต่อเนื่องและคุณภาพคงเดิม, มีมาตรฐาน มีคุณภาพสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า, มีประวัติความเป็นมาของสินค้า
26.   เหตุผลที่ลูกค้าตัดสินใจซื้อสินค้า OTOP คือ .........
27.   รายได้ขั้นต่ำของแต่ละครัวเรือน คือ ..........................

28.   องค์ประกอบของแผนธุรกิจ คือ การบริหารจัดการ , การผลิต, การตลาด ,การพัฒนาสินค้า

29.   มชช. แบ่งเป็น 4 ประเภท คือ ผู้นำชุมชน ,กลุ่มองค์กร /ชุมชน , เครือข่ายองค์กรชุมชน ,ชุมชน
30.   หน่วยงานที่มีการเชื่อมโยงระหว่างเครือข่ายที่ชัดเจนที่สุดคือ ศอช.

31.   อาสมัครพัฒนาชุมชนคัดเลือกจากเวทีประชาคม มี หมู่บ้านละ 4 คน ชาย 2 หญิง 2 คน

32.   ข้อใดที่ไม่ใช่หลัก 4 ป ของกรมการพัฒนาชุมชน คือ ปฏิบัติ
33.   สีเทาในสัญลักษณ์ของกรมฯ หมายถึง ประสานงาน

34.   คอมพิวเตอร์ประกอบด้วย ฮาร์ดแวร์ ,ซอล์ฟแวร์ ,พีเพิ้ลแวร์, และก็อะไรอีกไม่รู้ไม่แน่ใจเหมือนกัน

35.   ระบบ GFMIS คือ ระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์
36.   ประโยชน์โดยตรงของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ ...............................

37.   OTOP ที่สามารถลงทะเบียนได้ มี 5 ประเภท คือ อาหาร ,เครื่องดื่ม ,เครื่องแต่งกาย, ของใช้/ตกแต่ง/ที่ระลึก ,สมุนไพรแต่ไม่ใช่อาหาร
38.   โรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ระเบิด ชื่อ ฟูโกะชิมะ

39.   พายุที่ทำให้จังหวัดน่านน้ำท่วมคือ ไหหม่า

40.   การพัฒนาชุมชนมีภารกิจคล้ายกับ กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น